การปลูกฝังความสุจริตให้กับประชาชนคนไทย
ตลอดจนนักเรียน ครู ซึ่งเป็นต้นแบบ
เพื่อขยายผลต่อไปทั่วทั้งประเทศ เพื่อให้เรื่องทุจริตมีจำนวนลดน้อยลงไป
และไม่ให้เกิดขึ้นก่อนที่เราจะเปิดประตูสู่อาเซียนซึ่งต้องมีการแข่งขัน
โดยมีการสร้างความเชื่อถือศรัทธา สร้างเยาวชนที่ดีของประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย
มุ่งเน้นให้นักเรียนมีทักษะการคิด ทำงานเป็นกลุ่ม เป็นผู้นำ และเป็นผู้ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย
เหตุและผล ซึ่งยุทธศาสตร์และเป้าหมายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งหวังพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนเก่ง
คนดี
และมีความสุขเป็นผู้ที่มีความสามารถ
คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นก้าวไกล
สู่สากล มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย อยู่อย่างพอเพียง
มีจิตสาธารณะ ผ่านกระบวนการคิด ซึ่งสอดคล้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑ มีกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้กระทำความดีแก่ส่วนรวม
ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และท้องถิ่น เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม
ความเสียสละและความมีจิตสาธารณะ ในขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามทำ MOU (Memorandum Of Understanding) กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ในครั้งนี้ว่าสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ว่าด้วย
การป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยอาศัยกลไกทางการศึกษาในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
และการต่อต้านคอรัปชั่นให้เกิดขึ้นในหมู่เยาวชน
และถือเป็นการสร้างเครือข่ายการต่อต้านคอรัปชั่นในสถานศึกษาอีกด้วย
สำหรับปีงบประมาณ ๒๕๕๗ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์
เขต ๒
ได้น้อมนำพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังที่กล่าวข้างต้น เป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา
“ป้องกันการทุจริต” ถือว่าเป็นโครงการที่ดีมียุทธศาสตร์และแผนงานที่ชัดเจน
เล็งเห็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ปัญหาคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ แม้ว่าภาครัฐจะมีนโยบายการปราบปรามและรณรงค์เพื่อป้องกันการคอร์รัปชั่นอย่างต่อเนื่อง แต่ภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นโดยรวมของประเทศไทยยังไม่ดีขึ้น
ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะแก้ได้โดยการปลูกฝังค่านิยมการไม่ทุจริตให้กับผู้เรียนให้มีจิตสำนึกของการมีคุณธรรมจริยธรรมไม่มุ่งหวังแต่เพียงผลประโยชน์ส่วนตน
ก็จะช่วยให้ปัญหาเหล่านี้ลดน้อยถอยลงเป็นลำดับในอนาคตได้ ที่สำคัญก็คือ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังกล่าว จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และถาวรได้นั้น คงต้องอาศัยระยะเวลา และการได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสีย(ผู้บริหารโรงเรียน
ครู
บุคลากรทางการศึกษา
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง
และชุมชน) ต้องประสานใจร่วมกันในการพัฒนาผู้เรียน
ทั้งด้านวิชาการ ด้านคุณธรรมจริยธรรม และน้อมนำพระราชดำรัสหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต
ดังนั้น การขับเคลื่อนโรงเรียนสุจริตให้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาผู้เรียนโดยการส่งเสริมศักยภาพให้โรงเรียนมีนวัตกรรมของผู้บริหาร ครูผู้สอน
และผลงานของผู้เรียนตามที่สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดจุดเน้นทักษะการคิดและคุณลักษณะของผู้เรียนไว้ให้ มีความซื่อสัตย์สุจริต
มีวินัย อยู่อย่างพอเพียง
มีจิตสาธารณะ ผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นรูปธรรมนำไปสู่การปฏิบัติให้ได้
อย่างยั่งยืน ซึ่งหากโรงเรียนได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมผู้เรียนให้มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย อยู่อย่างพอเพียง
มีจิตสาธารณะ ผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นรูปธรรมนำไปสู่การปฏิบัติให้ได้อย่างยั่งยืนแล้ว
โรงเรียนนั้นก็คือ “โรงเรียนสุจริต” โดยสมบูรณ์ นั่นเอง
ที่มา ทัศนีย์ ช่อเทียนทิพย์
ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต ๒